วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การเรียนการสอนคาบที่ 3 วันจันทร์ 25 มกราคม 2559





                                                                บันทึกครั้งที่  3

                                                  วันจันทร์  ที่ 25  มกราคม  พ.ศ.  2559
                                                  วันพฤหัสบดี  ที่  28  มกราคม  พ.ศ.  2559




                   เนื้อหาที่เรียน

                                                    วันจันทร์   ที่  25  มกราคม



                                   



วันนี้อาจารย์สอนเนื้อหาทฤษฎีจากสัปดาห์ที่แล้วเเละอธิบายเนื้อหาที่เรียน
อย่างละเอียดแล้วให้นักศึกษาออกมานำเสนองานหน้าห้องทุกกลุ่มตามหัวข้อ




1. การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับร่างกาย  1.1 การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ขั้นพื้นฐาน (Basic Loco motor)   การเดิน  การวิ่ง  การกระโดด  การคลาน เป็นต้น  1.2 การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่ (Basic Non-Loco motor)  การดัน  การบิด  การเหยียด เป็นต้น  2. การเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ
  2.1  การทำให้วัตถุอยู่นิ่งเคลื่อนที่ เช่น การขว้าง การตี เป็นต้น  2.2 การหยุดวัตถุที่เคลื่อนที่ เช่น การรับ การหยุด เป็นต้น



สำนักพัฒนากรมพลศึกษา สุขภาพและอนามัย กรมพลศึกษา (2543)กล่าวถึง ประเภทของกิจกรรมเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ แบ่งออกเป็น  1. ประเภทเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานตามจังหวะ  2. ประเภทฝึกปฏิบัติตามสัญญาณหรือข้อตกลง  3. ประเภทกิจกรรมเนื้อหา  4. ประเภทฝึกจินตนาการจากคำบรรยาย  5. ประเภทกิจกรรมฝึกความจำ




    การเคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน

  การเคลื่อนไหวพื้นฐานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ การเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ณ จุดใดจุดหนึ่ง โดย ร่างกายจะไม่เคลื่อนออกไปจากจุดนั้นเลย 2. การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่ ได้แก่ การเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ได้แก่ การเดิน การวิ่ง การ กระโดด ฯลฯ


   ทิศทางในการเคลื่อไหว

การเคลื่อนไหวย่อมมีทิศทางไปข้างหน้า ไปข้างหลัง ไปข้างๆ หรือเคลื่อนตัวไปรอบทิศ 
(คือหมุนตัวไปทุกทิศทุกทาง)  ถ้าไม่ได้รับการฝึกไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่มักจะเคลื่อนไหว
ไปข้างหน้าเพียงอย่างเดียว


การฝึกเปล่งเสียง
การทำจังหวะนั้นมิได้หมายถึงการกำกับจังหวะด้วยการตบมือ เคาะเท้าหรือใช้เครื่องให้จังหวะอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่หมายถึงการทำจังหวะด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งอาจจะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง การเปล่งเสียงออกจากลำคอ การทำให้ร่างกายส่วนต่างๆ เกิดเสียงก็ได้ทั้งสิ้น การทำจังหวะแบ่งออกเป็น 4 วิธี
  1. การทำจังหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  2. การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง
  3. การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะ
  4. การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว




    แนวทางการประเมิน

1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
2. สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
3. สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
4. สังเกตการแสดงออก
5. สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม



เพื่อนออกมานำเสนองาน


อาจารย์ให้อ่านตาม




ให้เพื่อนออกไปหาใบหน้าคน



                                                         รูปภาพเกี่ยวกับกิจกรรม


      การนำมาประยุกต์ใช้    สามารถนำมาบูรณาการกับกิจกรรมการเเจ้ง


     ประเมินตนเอง    เรียนวันนี้ก้อได้ความรู้เพิ่มเติมจากเนื้อหาเดิมให้เเข้าใจมากขึ้นและเข้าใจ
                                ว่ากิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะสำคัญกับเด็กปฐมวัย

     ประเมินเพื่อน      เพื่อนๆตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานและตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายงาน

     ประเมินอาจารย์   อาจารย์สอนเข้าใจง่ายไม่ งง







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น